วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อแนะนำในการผลิตและออกแบบงานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์



กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ดี ย่อมเป็นผลที่ได้รับมาจากไฟล์งานต้นฉบับที่ดี ได้ผู้ผลิตผู้รับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ เครื่องมือที่ดี ดังนี้เราจึงต้องรู้และมีความรู้เกี่ยวกับงานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์บ้าง ซึ่งเรามีข้อแนะนำในการทำงานตั้งแต่ออกแบบมาให้ เพื่อจะได้มีงานกล่องบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และดูมีมูลค่า

1.งานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ควรจะทำการเคลือบไม่ว่าจะเคลือบเงาหรือด้าน ขึ้นอยู่กับความชอบ เพราะงานกล่องบรรจุภัณฑ์ยิ่งถ้าใช้กระดาษที่มีความหนามาก ถ้าหากไม่เคลือบส่วนที่เป็นเส้นพับขึ้นรูปกล่องเวลาประกอบใช้งานจริง จะเห็นเป็นรอยแตกของกระดาษ

2.หลีกเลี่ยงการปั๊มนูนพื้นที่เล็ก + การเคลือบ พื้นที่เล็ก เช่น การปั๊มนูนชื่อโลโก้ที่ใช้ฟ้อนท์ตัวเล็กและข้อความติดกันมากๆ เพราะถ้าหากปั๊มออกมาแล้วตัวพลาสติกที่ใช้เคลือบจะพอง ไม่สวย โดยเฉพาะถ้าเป็นงานสีพื้นที่เป็นโทนสีเข้ม เช่น สีดำ จะเห็นรอยชัดยิ่งขึ้น

3.การออกแบบไฟล์งาน ส่วนที่ใช้ในการประกอบติดกาวควรจะมีขนาดเล็กจนเกินไป เพราะจะได้มีพื้นที่ในการติดกาวเยอะๆ งานจะได้แน่นและไม่หลุดง่าย

4.เวลาออกแบบงานควรตั้งค่าสีเป็น CMYK เพื่อรองรับระบบงานพิมพ์และจะได้เห็นสีที่ใกล้เคียงกับของจริงเวลาออกแบบงาน

5.หลีกเลี่ยงการออกแบบงานที่มีกรอบแบ่งแยกพื้นที่ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นขอบกล่อง เพราะถ้าหากทางผู้ที่รับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ทำงานในขั้นตอนการไดคัทผิดพลาดขึ้นมา จะทำให้เห็นว่างานเบี้ยวชัดเจน

ตามที่แจ้งไปอาจจะเป็นเพียงแค่จ้อแนะนำบางส่วนเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าอาจจะทราบข้อแนะนำเพิ่มเติมเราสามารถสอบถามกับผู้ที่รับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมตามอินเน็ตได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระดาษที่ใช้ในการทำกล่องบรรจุภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง



กระดาษที่ใช้ในการรับทำกล่องบรรจุภัณฑ์ ประเภท เครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นกล่อง สบู่ กล่องครีม เซรั่ม เจลแต้มสิว ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นกล่องสินค้าเดียวๆตัวเดียว หรือว่าเป็นเซตก็แล้วแต่ กระดาษที่ใช้ทำก็แตกต่างกัน ตามการใช้งาน ตามขนาดของสินค้า และรูปแบบงาน แต่โดยทั่วไปแล้ว กระดาษที่นิยมใช้กันก็จะได้แก่

-กระดาษอาร์ตการ์ด หนา 300 แกรม ขึ้นไป

-กระดาษ Neo Matt หนา 300 แกรม ขึ้นไป

-กระดาษคราฟน้ำตาล หนา 250 แกรม ขึ้นไป

-กระดาษพิเศษอื่นๆ

แต่จะเห็นว่ากระดาษที่ใช้ในการรับทำกล่องบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ จะเป็นกระดาษ ที่มีความหนา ตั้งแต่ 300 แกรมขึ้นไป เพราะว่าถ้าหากเลือกใช้กระดาษที่มีความหนาน้อยกว่านี้ เวลานำไปประกอบขึ้นรูปใช้งานจริงจะทำให้ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นรูปร่าง ไม่มีความแข็งแรงคงทน นั้นเอง เว้นแต่ว่ากระดาษปรเภทกระดาษคราฟน้ำตาล ถ้าเทียบกันกับกระดาษขาวทั่วไปที่ความหนาของกระดาษเท่ากันนั้น กระดาษคราฟน้ำตาลจะมีความหนามากกว่า เหรือจะเป็นกระดาษพิเศษ ที่เวลาจะใช้งานจริงต้องมีการสั่งเข้ามาอีกที เพราะกระดาษบางชนิดตามร้านที่รับทำกล่องบรรจุภัณฑ์จะไม่ค่อยได้ใช้ เวลาจะใช้ต้องสั่งเข้ามา เนื่องมาจากว่า ต้นทุนสูง แล้วถ้าหากสั่งมาเยอะๆไม่ได้ใช้ ทิ้งไว้นานๆ ตัวจะดาษจะเหลือง ซึ่งถ้านำไปพิมพ์งานจริงสีก็จะไม่สวย ต่างออกไปจากไฟล์ต้นฉบับ ดังนั้นจะไม่ค่อยนิยมใช้กัน แต่ถ้าหากว่าอย่างได้กระดาษพิเศษจริงๆ ก็สามารถที่สั่งเข้ามาใช้งานได้

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

งานพิมพ์เมนูอาหารแบบเย็บหมุด




งานพิมพ์เมนูอาหารแบบเย็บหมุด เป็นเมนูอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการนิยมรับทำเมนูอาหารกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเคลือบทั้งเล่ม จะเป็นเคลือบเงา/ด้าน ก็แล้วแต่ความต้องการ ซึ่งรูปแบบเมนูเมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้นก็จะเป็น

ปก พิมพ์ 4 สี 4 หน้า + หุ้มจั่วปัง

เนื้อใน กระดาษอาร์ตการ์ดที่มีความหน้าตั้งแต่ 190 – 350 g พิมพ์ 4 สี จะกี่หน้าก็แล้วแต่การออกแบบ

เข้าเล่ม หมุดที่ใช้จะนิยมเป็นสีเงิน และหมุดสีทอง

ซึ่งเมนูอาหารแบบเย็บหมุดจะตีเส้นพับทุกหน้าทั้งเนื้อในและตัวปก เพื่อเวลาเปิดใช้งานจะได้ง่าย และเป็นงานเคลือบทั้งเล่ม ทำให้สามารถใช้ผ้าเช็คทำความสะอาดได้ และตัวปกเป็นปกแข็งหุ้มจั่วปังทำให้มีความทนทานกว่างานเมนูอาหารแบบปกอ่อน ซึ่งในการทำนั้น ผู้ที่รับทำเมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้น ต้องมีความชำนาญในการทำ ไม่งั้นงานจะออกมาไม่สวย และเทคนิคหลังการพิมพ์อีกอย่างที่นิยมใช้ในการทำเมนูก็คือการ Spot UV หรือการเคลือบเฉพาะจุดนั้นเอง โดยจะเน้นทำในส่วนของโลโ หรือรูปภาพเมนูอาหาร เพื่อให้ส่วนที่ Spot UV นั้นดูเด่นขึ้นมา